วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันพุธ

วันพุธ

เป็นวันหนึ่งใน 1 สัปดาห์ หากเริ่มนับวันแรก คือ วันอาทิตย์ และสุดท้ายคือ วันเสาร์ วันพุธ ก็อยู่ตรงกลางสัปดาห์พอดี นี่เป็นเรื่องราวของวันพุธ ที่ไม่ใช่ วรรณพุทธ์ ครับ

ความเชื่อเดิมของไทยเรานั้น เชื่อกันว่า หากตัดผม วันพุธ จะเกิดเรื่องไม่ดีเรื่องร้ายหรือเจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งให้ผลมาสู่ปัจจุบันที่เราเห็นร้านตัดผมส่วนใหญ่มักจะปิดร้านกัน วันพุธ ถามว่าความเชื่อนี้เกิดจากอะไร?? เคยคิดกันไหม?? หรือเพียงแต่ว่าเชื่อตามๆ กันไป เรื่องความเชื่อของคนเราจาก กาลามสูตร หรือ หลักความเชื่อ ๑๐ ประการบทความที่คุณ intellect ได้หยิบธรรมมะมาไว้ให้อ่านกัน เพื่อได้พิจารณาด้วยตนเอง ไม่หลงเชื่อง่ายๆ หรือตามๆ กันไป ดังนั้น หากจะลองพิจารณาเรื่อง การตัดผมในวันพุธ ด้วยตัวของผมเองแล้ว ก็จะพบว่า เดิมคนไทยเรา เชื่อว่า วันพุธ เป็นวันที่ร้อนมากที่สุดใน 1 สัปดาห์เพราะอยู่ตรงกลางสัปดาห์พอดี การตัดผมในวันนี้จึงทำให้ ผมสั้นลง เมื่อสั้นลง ความร้อนจากดวงอาทิตย์ก็จะส่งผลต่อหนังศีรษะ ทำให้เราเจ็บป่วยหรือไม่สบายได้ง่าย

หากเราไม่มีความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์หรือการโคจรของดวงดาวเลย เราก็คิดเองได้ว่า ๑. เราสมมติให้เริ่มนับวันแรกของสัปดาห์เป็น วันจันทร์ และสุดท้ายก็คือ วันอาทิตย์ ดังนั้น วันที่อยู่ตรงกลางพอดี คือ วันพฤหัสบดี ซึ่งไม่ใช่ วันพุธ หากเชื่อว่า วันที่อยู่กลางสัปดาห์เป็นวันที่ร้อนที่สุด ดังนั้น วันพุธ จึงไม่ใช่วันที่ร้อนที่สุด เราก็สามารถตัดผมได้ในวันพุธ แต่เราก็ไม่สามารถตัดผมวันพฤหัสบดี ได้เช่นกัน

ที่นี้ลองพิจารณาใหม่ ๒.สมมติการเริ่มนับยังเหมือนเดิม คือ เริ่มที่วันอาทิตย์ และให้วันพุธอยู่กลางสัปดาห์ซึ่งเชื่อว่าเป็นวันที่ร้อนที่สุด และมีเหตุพอดีให้วันพุธนี้เกิด ฝนห่า พายุเข้า (เสาร์แทรก อันนี้แทรกจริงๆ ครับ) เพียงวันเดียว ส่วนวันอื่นๆ แดดออก นกกระจอกเข้ารัง วันพุธ ยังเป็นวันที่ร้อนที่สุดอีกไหมครับ

ลองใหม่อีกครับ ๓.สมมติว่า วันพุธเป็นวันที่ร้อนที่สุดจริง หากตัดผมให้สั้นลงแล้วจะทำให้เกิดป่วยไข้ จากความร้อนที่มากกว่าวันอื่นที่ส่องตรงลงมายังศีรษะของเรา แต่หากว่า เราตัดผมในบ้านแล้วไม่ออกไปไหนเลยในวันพุธล่ะครับ เราจะได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์หรือเปล่า? และหากออกไปนอกบ้านแล้วเอาผ้าโพกหัวล่ะ จะเป็นยังไง? ส่วนวันอื่นๆ เราทำงานนอกบ้านและไม่โพกหัว เราจะเป็นยังไง? ยังมีอีกหลายสมมติที่เราจะยกขึ้นมาครับ..

นอกจากตัดผมวันพุธแล้ว ยังมี วันพุธกลางวัน-กลางคืนอีกมากมาย ดังนั้น ไม่ว่า ความเชื่อเรื่อง ผีสาง, พระใบ้หวย, การสักยันต์ ตะกรุด พระเครื่อง, จิ้งจก นกแสก, พิธีตัดกรรม สะเดาะเคราะห์ต่างๆ ฯลฯ หรือเรื่องอะไรก็ตาม ล้วนมีที่มา ที่เกิดจากอุบายหรือกุศโลบายของคนเพื่อใช้ให้เกิดผลตามเจตนาของเรื่องนั้นๆ หากเราพิจารณาให้ดีและเข้าใจเจตนาแล้ว เราก็ไม่ต้องเชื่อเลยก็ได้ เพราะ ทุกอย่างล้วนเป็นเรื่องของปัจจัยที่ประกอบกันขึ้น แต่ทั้งนี้ เราก็สามารถทำไปได้ตามเจตนาของเดิมที่ดีที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังความเชื่อเหล่านี้

ขอย้ำอีกครั้งว่า อย่าลืม เจตนาเดิมที่ดี ที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังความเชื่อ ซึ่งหากเราเข้าใจเจตนาดีแล้ว เราก็จะไม่เป็นคนที่เขาพูดว่า เชื่ออย่างงมงาย

วันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ธรรมะ เพื่อความรุ่งเรือง

ตักบาตรพระล้านครั้ง ไม่เท่ายื่น อาหารให้พ่อแม่เพียงครั้งเดียว

ความดีของลูก คือความสุขของพ่อแม่ ความเลวของลูก คือความทุกข์ของพ่อแม่
J
หลงผัว หลงเมีย จนลืมพ่อแม่ นับว่าแย่มาก
J
อยากรวย ให้ทำงาน อยากสวยให้รักษาศีล อยากดี ให้หมั่นเจริญภาวนา
J
คนฉลาด กำลังทำงาน ส่วนคนโง่ กำลังดูฤกษ์ยาม
J
หนึ่งวินาที คบบัณฑิต ดีกว่าหนึ่งปี คบคนพาล
J
อย่าประมาทเมื่อพบงานง่าย อย่าท้อใจเมื่อพบงานยาก
J
เสริมเสน่ห์ตนเองด้วยรอยยิ้ม ดีกว่าคอยพึ่งพิงสิ่งศักดิ์สิทธิ์
J
ไม่ควรไว้ใจในคนที่ชอบทำบาป ( ถ้าทำบาปแลกบุญ จะขาดทุนร่ำไป)
J
คนจนยิ่งจน เพราะทำรวย คนรวยยิ่งรวย เพราะทำจน
J
เรายอมแพ้คน เพื่อเอาชนะกิเลส ดีกว่ายอมแพ้กิเลส !เพื่อเอาชนะคน
J
ยามไปซื้อของ อย่าอวดเงินทองให้ใครเห็น
J
คำสรรเสริญควรให้ไป คำติชม ควรเก็บไว้เพื่อส่องตน
J
ระวัง อย่าให้สูญเสียคนดี เพราะคนชั่วแทนที่ไม่ได้
J
คนโง่ แสวงหาพระเครื่อง ผู้ฉลาด แสวงหาพระธรรม
J
มารยาทงามนี่แหละ จะพลอยทำให้วาสนาดี
J
เพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้ ดีกว่าพี่น้องในไส้ที่อยู่ไกล
J
ประดับกายด้วยความดี มีราศีกว่าประดับเพชร
J
กินเหล้าเพื่อเข้าสังคม คือค่านิยมที่ผิด
J
ความร่ำรวยหากขอกันได้ โลกนี้ก็คงจะไม่มีคนจน
J
ทรัพย์เกิดไม่ได้ ด้วยเพียงแต่ใจคิดฝัน
J
ตัวอย่างที่ดี มีค่ามากกว่าคำสอน การปฏิบัติดี มีค่ามากกว่าการขอพร
J
คนขยันคือคนโชคดี ความขยันจึงเป็นพรอันประเสริฐ
J
ถึงแม้การเลือกเกิดเราจะไม่มีสิทธิ์ แต่การเลือกทางชีวิตเป็นสิทธิ์ของเรา
J
แสวงหาลาภจากการงาน ดีกว่าบนบานบวงสรวง
J
อย่าเชื่อคนโดยไร้คิด อย่าหลงมิตรเพียงคำยอ
J
ที่ทำดีไม่ได้ดี เพราะทำดียังไม่มากพอ ( ทำดีวันละนิด ดีกว่าคิดว่าจะทำ)
J
เมื่อมีคำขอโทษ ความโกรธย่อมจางเร็ว
J
วาจาอ่อนหวานลูกหลานใกล้ชิด วาจาเป็นพิษญาติมิตรห่างไกล
J
กินเพื่ออิ่ม ก็จะมีปัญหาน้อย แต่ถ้ากินเพื่ออร่อย ก็จะมีปัญหามาก